การขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษารองรับการเปลี่ยนแปลง

การขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษารองรับการเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในชาติที่ประชาชนตื่นตัว และให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นลำดับต้นๆ ของโลก แต่หากส่องให้ลึกลงไปจะพบว่ามิติของการเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้า ที่ส่งผลให้ประชากรโดยเฉพาะเด็ก และเยาวชนกลับยังตามหลังชาติต่างๆ อยู่พอสมควร

หนึ่งในปรากฎการณ์ที่ผู้บริหารประเทศ และผู้สันทัดกรณีในวงการศึกษาต่างทราบกันดี ถึงเหตุผลอันเนื่องมาจากมูลเหตุดังกล่าว คงจะได้แก่นโยบาย หรือแนวปฏิบัติที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เนืองๆ

วันนี้ ถึงแม้ว่านโยบาย หรือแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการการศึกษาของชาติ จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่นิ่งมากนักก็ตามแต่ เรื่องของการอาชีวศึกษา ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ เพราะรัฐบาล รวมทั้ง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พยายามเดินหน้าเพื่อรังสรรค์ที่จะให้เยาวชนได้เข้ามาเป็นพลังร่วมสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อกล่าวถึงการให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาของรัฐบาล โดยเฉพาะการรองรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศนั้น ครั้งหนึ่งถ้าจะย้อนกลับไปในโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาล ได้เดินทางไปมอบนโยบายการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ณ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จ.ชลบุรี นั้น

วันนั้นนายกฯ ได้มอบนโยบาย มีสาระ และประเด็นที่น่าสนใจความตอนหนึ่งว่า “การอาชีวศึกษามีส่วนสำคัญในการสร้างชาติให้เข้มแข็ง เพื่อพัฒนาประเทศไปด้วยกัน โดยเป้ามายประการหนึ่ง คือการสร้างคนให้ทำงานได้ตรงกับความต้องการของประเทศ ผลิต และพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพในการทำงานใน First S-Curve และ New S-Curve ซึ่งสอดคล้องกับการลงทุน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

พร้อมกันนั้น นายกฯ ยังย้ำว่า “ทุกคนต้องไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ทั้งภาครัฐภาคการศึกษา และประชาชนในพื้นที่ โดยร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือการที่เยาวชนมีงานทำ มีอาชีพ และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ให้เยาวชนมีเงินไปจุนเจือครอบครัวได้มากขึ้น และหากเราไม่พัฒนาคนไม่พัฒนางาน และไม่พัฒนาอาชีพเราก็ก็จะอยู่ที่เดิมทั้งระบบ” (Thailand e-Government 21 พฤศจิกายน 2560)

และในโอกาสเดียวกันนั้น นายกฯ ยังได้ฝากการบ้านถึง ศธ.โดยเฉพาะการผลิตบุคลากรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง และเชื่อมโยงกับภาคเอกชน ซึ่งประเด็นนี้นายกฯ ว่าการจัดการศึกษาบุคลากรใน ศธ.รวมทั้ง สถานศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชนจะต้องเดินไปด้วยกัน

สำหรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะในมิติที่เกี่ยวข้องการการอาชีวศึกษานั้น นายกฯ ได้ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษา และครูผู้สอน ควรเปลี่ยนบทบาทให้ทันกับเด็ก และการจัดการศึกษาระดับอาชีวะ เป้าหมายสุดท้ายคือผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ และส่งเสริมการมีงานทำ หรือการเตรียมคนทำงานในสถานประกอบการ และนำไปสู่ Smart Thailand

จากแนวคิด หรือนโยบายที่นายกฯ กล่าวไว้ในวันนั้น หากนำมาพิจารณากับมิติแห่งความเป็นจริงในวันนี้ จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนผ่านมาจากการเลือกตั้ง และผู้กุมบังเหงียนใหญ่ใน ศธ.ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะเปลี่ยนแล้วก็ตาม แต่ถ้าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ จะได้นำบทสรุปที่นายกฯ มอบไว้ มาปัดฝุ่น หรือถอดบทเรียน เพื่อให้การอาชีวศึกษาของบ้านเรามีความก้าวหน้าทันกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง ก็คงจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

และความเชื่อที่สังคม หรือผู้ปกครอง ต่างมุ่งหวังให้ลูกหลานมุ่งไปสู่การศึกษาสายสามัญมากกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงการจัดการศึกษาอาชีวะในสังคมไทยนั้น ต้องยอมรับว่าในภาพรวมนั้น มีขวากหนาม หรืออุปสรรคอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในเรื่องของค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ และฝังลึกมาอย่างยาวนาน

ดังนั้น เมื่อโลกเปลี่ยน รวมทั้ง สภาวการณ์ หรือโอกาสในการมีงานทำ ของกำลังคนอันเนื่องมาจากผลผลิตของสถาบันการศึกษา และยังสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้วยแล้ว จำเป็นอยู่เองที่ ศธ.ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนให้การอาชีวะเป็นหนึ่งในภาคีทางการศึกษาของประเทศ ที่ต้องก้าวเดินไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง

เหนืออื่นใดวันนี้ คำถามจึงมีอยู่ว่า จะทำอย่างไรที่จะให้การอาชีวศึกษา เป็นหนึ่งในสะพานเชื่อมที่ก้าวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ private-radio.com

UFA Slot

Releated