ufabet

ส่อง OMO Marketing ในจีน และ เครื่องมือที่ธุรกิจไทยนำไปใช้ได้

ในยุคของ New Norm ที่ไม่ใช่แค่วิถีชีวิตของคนทุกคนจะเปลี่ยนไป… แต่การทำธุรกิจในยุคนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อหาทางรอดด้วยเช่นกัน!

ซึ่งออนไลน์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอในยุคนี้ ทำให้ OMO Marketing เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจสำหรับ SME ที่เคยคร่ำหวอดมานานในยุคออฟไลน์ อาจจะต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของการพลิกออฟไลน์มาเป็นออนไลน์แบบเต็มรูปแบบในช่วงที่ประเทศไทยเกิดโรคระบาดเมื่อปีที่แล้วจนปรับตัวแทบไม่ทัน ดังนั้น ในปีนี้เมื่ออะไรๆ ก็ดูจะคลี่คลายลงบ้าง SME ต่างๆ ก็ควรเริ่มมองหากลวิธีการทำให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดในยุคของ Online Disruption นี้ให้ได้

OMO Marketing คือ หนึ่งกลวิธีที่เรานำมากล่าวถึงในครั้งนี้ ซึ่งวิธีการนี้เคยใช้แล้วประสบความสำเร็จโดยยักษ์ใหญ่ของการทำธุรกิจออนไลน์จนประสบความสำเร็จมากมายอย่าง “ประเทศจีน” โดยการนำการตลาดแบบ

OMO (Online Merged with Offline) มาปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ในประเทศตั้งแต่ช่วง 2017 อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดโควิดระบาดในปี 2019 ซึ่งก็ถือว่าเป็นปูพื้นฐานที่ดีทำให้หลายๆ ธุรกิจในจีนสามารถปรับได้ทัน เพราะการเชื่อมต่อธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์ในช่วงโควิดเป็นสิ่งที่สำคัญ และธุรกิจในไทยต้องรีบนำมาปรับใช้

ความเป็นมาของ OMO Marketing ในจีน

ประเทศจีนมีการเติบโตด้านออนไลน์สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2000 จากการที่เริ่มมีแพลทฟอร์มใหญ่ๆ อย่าง ​Alibaba เกิดขึ้น หลังจากนั้น Smartphone ก็เริ่มเป็นที่นิยม ทำให้หลายธุรกิจในจีนกระโดดไปยังออนไลน์กันจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ช่องทางการขายออนไลน์ก็ยังมีจุดอ่อนด้านการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า เช่น การทดลองสินค้า ทำให้ในปี 2017 คอนเซปต์ของ OMO Sapiens (การรวมธุรกิจออนไลน์-ออฟไลน์) ก็ได้เกิดขึ้น โดย ดร. ไคฟู ลี (Kai-Fu Lee) ผู้เขียนหนังสือ AI Superpowers ซึ่งได้บอกว่าโลกใหม่ของจีนไม่ใช่แค่ออนไลน์ แต่ต้องเป็น “OMO”

(Online Merged with Offline) แปลตรงตัวก็คือ ‘การผสานควบรวมระหว่างการทำธุรกิจออนไลน์ไปกับออฟไลน์’ ยกตัวอย่างเช่น การไปซื้อของทีซุปเปอร์มาร์เก็ตและใช้งานสมาร์ทโฟนสแกน QR Code และชำระเงินออนไลน์, การสั่งอาหารจากร้านอาหารแถวบ้านแบบออนไลน์ ให้มาส่งสินค้าถึงหน้าบ้านของคุณ หรือจะเป็นการที่เราสั่งซื้อเสื้อผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์

ufabet

แต่ก็สามารถนำไปเปลี่ยนคืนที่หน้าร้างในห้างได้ เป็นต้นโดยในปี 2017 จะเห็นได้ชัดเจนว่า Alibaba ได้เข้าลงทุนในร้าน Suning Electronic Store ซึ่งเป็นแบรนด์ร้านค้าปลีกขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในจีน

และยังได้ลงทุนในอีกหลายๆ ร้าน.. ไม่เพียงแค่ Alibaba แต่อีกหลายธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น JD.com และ Tencent ก็ได้ไปร่วมจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับอีกหลายธุรกิจออฟไลน์ เช่น Walmart Chinaซึ่งความท้าทายของ การทำ OMO Marketing อยู่ตรงที่การวางแผนและการเตรียมความพร้อมในด้านเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยเชื่อมโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับการใช้งานและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าของคุณ

ตัวอย่าง Case Study การทำ OMO Marketing ที่ประสบความสำเร็จ

เราลองมาดูความสำเร็จของผู้บุกเบิกอย่างประเทศจีนกันดีกว่า!Shanghai Starbucks Reserve RoasterShanghai Starbucks Reserve Roastery ร้านกาแฟสตาร์บั๊คส์ ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ พื้นที่กว่า 2,700 ตร.ม. เกิดขึ้นในปี 2017 ที่ถูกกล่าวขานจาก Starbucks ว่า “ที่นี่คือโรงละครและการแสดง Starbucks Reserve ที่น่าตื่นตาตื่นใจและน่าตื่นเต้นที่สุดของเรา”

เพราะนอกจากจะมีพื้นที่ร้านขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแล้ว ยังเนรมิตร้าน กาแฟสตาร์บั๊คส์ให้กลายเป็นโรงละครที่แสดงศิลปะการชงกาแฟได้ยิ่งใหญ่กว่าใครในโลก ที่จะพาให้คอกาแฟได้ดื่มด่ำกับการแสดง แสง สี เสียงและกลิ่นของกาแฟที่คั่วในสถานที่ต่างๆ ผ่านไปยังสถานีผลิตเบียร์และจัดเตรียมโดยผู้เชี่ยวชาญโดยบาริสต้าชั้นเซียน กาแฟล็อตเล็กหายากทุกแก้วในร้าน ที่มีที่มาอย่างพิถีพิถันจากพื้นที่ปลูกชั้นนำต่างๆ ทั่วโลกผ่านโซน Roasting Area ที่มีถังคั่วกาแฟใหญ่ๆ ให้คุณสามารถใช้ App สแกนดูการทำงานข้างในได้ด้วยเทคโนโลยี AR น่าตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกรวมถึงคนในประเทศจีนเองให้อยากมีส่วนร่วมในประสบการณ์แสนพิเศษนี้ จนเกิดแรงกระเพื่อมของ “Instagrammable” ซึ่งก็คือ “การถ่ายรูปอัพลง IG อวดเพื่อนทางโซเชี่ยล” และนั่นก็ยิ่งทำให้ร้าน Shanghai Starbucks Reserve Roastery ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

สามารถสั่งสินค้า อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นไว้แล้วค่อยนำบาร์โค้ดมาสแกนดูช่องรับสินค้าได้ โดยไม่ต้องรอคิว สามารถดูรายละเอียดของผลิตภัณฑ์โดยสแกน QR Code ผ่านมือถือ นอกจากนั้นยังมีบริการเดลิเวอรี่ส่งตรงถึงบ้านในระยะไม่เกิน 1.5 กิโลเมตรอีกด้วย


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ private-radio.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated